Motion Analysis

ภายใต้กระบวนการออกแบบ ข้อมูลเชิงลึกที่สำคัญประการหนึ่งคือการทำความเข้าใจประสิทธิภาพของระบบที่แท้จริง รวมถึงกระบวนการทางกล ทางไฟฟ้า และระบบย่อย ๆ อย่างอื่น หลักสูตรนี้จึงนำเสนอการจำลองการเคลื่อนไหวแบบไดนามิกของชิ้นส่วน เพื่อคำนวณการรับแรงกระทำและการกระจายแรงทั่วทั้งระบบกลไก ช่วยให้สามารถคำนวณปฏิสัมพันธ์ที่ซับซ้อนของการเคลื่อนไหว โครงสร้างชิ้นงาน และการควบคุมชิ้นงานได้ เรียนรู้การจำลองชิ้นงานแบบมัลติบอดี้ไดนามิก (MBD) ซึ่งมีความสามารถในการวิเคราะห์ปฏิสัมพันธ์ที่ความซับซ้อนระหว่างกัน รวมถึงการเคลื่อนไหว โครงสร้าง การกระทำ และการควบคุม พร้อมศึกษากรณีตัวอย่างที่เกิดขึ้นจริง ผู้เข้าร่วมจะได้เรียนรู้วิธีการตั้งค่าสภาวะเริ่มต้น (initial condition) ระบบสปริงแดมเปอร์ ระบบบังคับเลี้ยว ระบบกันสะเทือน และการใช้งานบูชยางอย่างเหมาะสม รวมถึงการใช้ฟังก์ชันการกระแทกและฟังก์ชันระดับ (step function) พร้อมกับการจำลองชิ้นงานที่มีความยืดหยุ่น เพื่อนำไปใช้ปรับปรุงการออกแบบให้เหมาะสม สะดวกสบายและปลอดภัย

10 + Number of Lessons in the Course
Motion Analysis

Motion Analysis

วันที่อบรม

3 วัน - วันที่ 18-20 มิถุนายน 2568

ระยะเวลาที่อบรม

9:00 am - 4:00 pm

ราคาค่าอบรม

12,000 บาท / คน (ราคายังไม่รวม VAT)

สถานที่อบรม

UNDO Center อาคารสินสาธรทาวเวอร์ ชั้น 23 ถ.กรุงธนบุรี เขตคลองสาน กรุงเทพฯ (ใกล้สถานีรถไฟฟ้ากรุงธนบุรี)

วัตถุประสงค์

เมื่อสำเร็จหลักสูตรอบรมนี้ ผู้เรียนจะเข้าใจในระบบการเคลื่อนไหวแบบไดนามิกและการประยุกต์ใช้งาน วิธีการตั้งค่าและทำการวิเคราะห์โดยใช้ CAE เป็นเครื่องมือ โดยเฉพาะซอฟต์แวร์จำลองการเคลื่อนไหวแบบมัลติบอดี้ไดนามิก (MBD) อีกทั้งผู้เรียนจะได้รับทักษะการวิเคราะห์ด้วย CAE ในระบบกลไกที่ต่างกัน

เนื้อหาในหลักสูตร

บทที่ 1 การเคลื่อนไหวแบบไดนามิกในงานวิศวกรรม
บทที่ 2  วิธีการตั้งค่าสภาวะเริ่มต้น (Initial condition)
บทที่ 3  วิธีการคำนวณค่ามวลและความเฉื่อยในชิ้นงาน
บทที่ 4  วิธีการคำนวณแรงเสียดทานในระบบ
บทที่ 5  วิธีการคำนวณแรงภายนอกของระบบ
บทที่ 6  วิธีการใช้สปริงแดมเปอร์แบบเป็นเชิงเส้นและไม่เป็นเชิงเส้น
บทที่ 7  วิธีการวิเคราะห์ระบบกันสะเทือนและระบบบังคับเลี้ยว
บทที่ 8   วิธีการใช้บูชยาง
บทที่ 9   วิธีการใช้ฟังก์ชันการกระแทกและฟังก์ชันระดับของระบบ
บทที่ 10 วิธีการตั้งค่าแบบจำลองกับวัสดุที่ยืดหยุ่น

ภาคทฤษฎีและปฏิบัติ บรรยายโดย ผศ.ดร.ปัญญา ขันธ์สุวรรณ, อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล, KMITL

หลักสูตรนี้เหมาะสำหรับ

  • วิศวกรนักออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ
  • วิศวกรผู้ออกแบบในวิศวกรรมการผลิตที่เกี่ยวข้อง
  • อาจารย์ นักวิจัย ที่เกี่ยวข้องกับการการสอน CAE
  • นักศึกษาด้านวิศวกรรมและผู้สนใจ

รูปแบบการสอน

  • บรรยายประกอบการใช้ซอฟต์แวร์ CAE ชั้นนำ
  • หนึ่งคนต่อหนึ่งเครื่องคอมพิวเตอร์

 

CATIA training

Discover other courses that you may find interesting

General Purposed 
CAE

Discover other courses that you may find interesting

Specific CAE

Discover other courses that you may find interesting