CFD Analysis

พลศาสตร์ของไหลเชิงคำนวณ (CFD) เป็นหลักสูตรต่อยอดจาก CAE Essentials เป็นการเรียนรู้แนวคิดและทฤษฎีที่อธิบายการไหลของของไหล 4 ประเภทสำหรับ CFD โดยเฉพาะ ซึ่งครอบคลุมถึงกฎการอนุรักษ์มวล, กฎการอนุรักษ์โมเมนตัม, กฎการอนุรักษ์พลังงาน, เงื่อนไขขอบเขต, การจำลองโดยวิธีไฟไนต์เอเลเมนต์, การจำลองโดยวิธีไฟไนต์โวลุ่ม, คลื่นช็อก, ปัญหาที่พบในการวิเคราะห์ CFD, เปรียบเทียบผลลัพธ์ระหว่าง CFD กับคำตอบที่แม่นยำ, ปรากฏการณ์การเกิดการไหลแบบปั่นป่วน (Turbulence) และแบบจำลองการไหล ผู้เรียนควรมีพื้นฐานความรู้ด้าน CAE Essentials และวิธีการทางคณิตศาสตร์เชิงตัวเลข (Numerical Methods) ก่อนที่จะเรียนรู้หลักสูตรนี้

8 + Number of Lessons in the Course
CFD Analysis

CFD Analysis

วันที่อบรม

4 วัน - วันที่ 10, 11, 17, 18 มิถุนายน 2568

ระยะเวลาที่อบรม

9:00 am - 4:00 pm

ราคาค่าอบรม

20,000 บาท / คน (ราคายังไม่รวม VAT)

สถานที่อบรม

UNDO Center อาคารสินสาธรทาวเวอร์ ชั้น 23 ถ.กรุงธนบุรี เขตคลองสาน กรุงเทพฯ (ใกล้สถานีรถไฟฟ้ากรุงธนบุรี)

วัตถุประสงค์

เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจในองค์ความรู้เกี่ยวกับการวิเคราะห์พลศาสตร์ของไหลเชิงคำนวณ ได้รับทักษะวิธีการสร้างแบบจำลอง CFD ในการไหลแบบราบเรียบ (laminar) และแบบปั่นป่วน (turbulent), การไหลแบบอัดตัว และปฏิสัมพันธ์ระหว่างของเหลวและโครงสร้างได้

หัวข้อบรรยาย

  • สมการนาเวียร์–สโตกส์ (Navier-Stokes Equations)
  • ทำไมปัญหาการไหลของของไหลจึงยากกว่าปัญหาวิศวกรรมอื่น ๆ
  • ระเบียบวิธีไฟไนต์เอเลเมนต์ (Finite Element Method, FEM) สำหรับการจำลองพลศาสตร์ของไหลเชิงคำนวณ
  • ระเบียบวิธีไฟไนต์โวลุ่ม (Finite Volume Method, FVM) สำหรับการจำลองพลศาสตร์ของไหลเชิงคำนวณ
  • การจัดรูปแบบ FEM และ FVM สำหรับปัญหาการไหลทั้ง 4 ประเภท
    (a) การไหลที่ไม่มีความหนืดและไม่สามารถอัดตัวได้ (Inviscid Incompressible Flow)
    (b) การไหลที่ไม่มีความหนืดและสามารถอัดตัวได้ (Inviscid Compressible Flow)
    (c) การไหลที่มีความหนืดและไม่สามารถอัดตัวได้ (Viscous Incompressible Flow)
    (d) การไหลที่มีความหนืดและสามารถอัดตัวได้ (Viscous Compressible Flow)
  • การไหลที่มีความปั่นป่วน (Turbulent Flow) และแบบจำลองการไหลที่มีความปั่นป่วน (Turbulent Models)
  • ตัวอย่างทางวิชาการและการประยุกต์ใช้งาน

หัวข้อปฏิบัติ

  • การเปรียบเทียบการไหลแบบราบเรียบ (Laminar) และการไหลแบบกวน (Turbulent) ในที่มีการเปลี่ยนแปลงหน้าตัดอย่างฉับพลัน (Backstep)
  • การไหลภายนอกของอากาศผ่านตัวรถยนต์
  • การไหลภายในท่อที่มี 2 ช่องทางเข้า และ 1 ช่องทางออก พร้อมกับเมชที่ปรับได้โดยอัตโนมัติ (Adaptive Mesh)
  • การสูญเสียแรงดัน (Pressure Loss)
  • การนำความร้อนม การถ่ายโอนความร้อนจากครีบระบายความร้อน
  • การถ่ายโอนความร้อนโดยธรรมชาติ (Natural Convection)
  • การถ่ายโอนความร้อนจากรังสี Solar Panel
  • การไหลของของไหลที่บีบอัดตัวได้, การไหลรอบวัตถุทรงแหลม (Wedge)
  • การระบายอากาศและการควบคุมอากาศ (HVAC)

ภาคทฤษฎี บรรยายโดย ศ. ดร. ปราโมทย์ เดชะอำไพ
ภาคปฏิบัติ โดยทีมงาน CAE

หลักสูตรนี้เหมาะสำหรับ

  • วิศวกรนักออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ
  • วิศวกรผู้ออกแบบในวิศวกรรมการผลิตที่เกี่ยวข้อง
  • อาจารย์ นักวิจัย ที่เกี่ยวข้องกับการการสอน CAE/CFD
  • นักศึกษาด้านวิศวกรรมและผู้สนใจ

รูปแบบการสอน

  • บรรยายประกอบการใช้ซอฟต์แวร์ CAE ชั้นนำ
  • หนึ่งคนต่อหนึ่งเครื่องคอมพิวเตอร์

 

CATIA training

Discover other courses that you may find interesting

General Purposed 
CAE

Discover other courses that you may find interesting

Specific CAE

Discover other courses that you may find interesting

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *