Introduction to Abaqus

หลักสูตรอบรมนี้เป็นการแนะนำแบบครบวงจรเกี่ยวกับความสามารถในการสร้างโมเดลและการวิเคราะห์ของซอฟต์แวร์ SIMULIA Abaqus ซึ่งได้รับการออกแบบมาสำหรับผู้เรียนที่ไม่มีประสบการณ์การใช้งานซอฟต์แวร์ Abaqus มาก่อน ผู้เรียนจะได้รับความรู้ในการแก้ปัญหาแบบเชิงเส้นและแบบไม่เป็นเชิงเส้นจากการทำกับรูปทรงเรขาคณิต การสร้างเมช การตั้งค่าแบบจำลองปัญหา การส่งผลและติดตามผลลัพธ์จากแบบจำลอง ไปจนถึงการดูผลลัพธ์การจำลองโดยใช้อินเตอร์เฟซของซอฟต์แวร์ Abaqus

4 + Number of Lessons in the Course
Introduction to Abaqus

Introduction to Abaqus

วันที่อบรม

22, 23, 29 กุมภาพันธ์, 1-2 พฤษภาคม 2567

ระยะเวลาที่อบรม

9:00 am - 4:00 pm

ราคาค่าอบรม

20,000 บาท (ราคายังไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม)

สถานที่อบรม

UNDO Center อาคารสินสาธรทาวเวอร์ ชั้น 23 ถ.กรุงธนบุรี เขตคลองสาน กรุงเทพฯ (ใกล้สถานีรถไฟฟ้ากรุงธนบุรี)

เทคนิคการออกแบบชิ้นงานอย่างมืออาชีพ

หลักสูตรอบรมนี้เป็นการแนะนำแบบครบวงจรเกี่ยวกับความสามารถในการสร้างโมเดลและการวิเคราะห์ของซอฟต์แวร์ SIMULIA Abaqus ซึ่งได้รับการออกแบบมาสำหรับผู้เรียนที่ไม่มีประสบการณ์การใช้งานซอฟต์แวร์ Abaqus มาก่อน ผู้เรียนจะได้รับความรู้ในการแก้ปัญหาแบบเชิงเส้นและแบบไม่เป็นเชิงเส้นจากการทำกับรูปทรงเรขาคณิต การสร้างเมช การตั้งค่าแบบจำลองปัญหา การส่งผลและติดตามผลลัพธ์จากแบบจำลอง ไปจนถึงการดูผลลัพธ์การจำลองโดยใช้อินเตอร์เฟซของซอฟต์แวร์ Abaqus

วัตถุประสงค์

เพื่อให้ผู้เรียนจะเข้าใจเนื้อหาความรู้และทักษะการใช้งานซอฟต์แวร์ในการสร้างแบบจำลองและวิเคราะห์ในเรื่องต่าง ๆ เมื่ออบรมหลักสูตรนี้จบแล้ว ผู้เรียนจะมีความสามารถในการใช้ซอฟต์แวร์ Abaqus/CAE, Abaqus/Standard และ Abaqus/Explicit

หัวข้อในการบรรยายและปฏิบัติ

  • การวิเคราะห์เชิงโครงสร้างแบบเชิงเส้นและแบบไม่เป็นเชิงเส้น
  • การวิเคราะห์การถ่ายเทความร้อนทั้งในแบบ Static และแบบ Dynamic
  • แบบจำลองวัสดุแบบ linear elasticity, hyper- elasticity, และ metal plasticity
  • การรับแรงที่กระทำและข้อกำหนด
  • แบบจำลองหน้าสัมผัส
  • การเลือกใช้วิธีการสร้างเอลิเมนต์ที่เหมาะสมกับรูปแบบปัญหาในงาน
  • การสร้างแบบจำลองตามคุณลักษณะ ชิ้นส่วน และการประกอบชิ้นงาน
  • การใช้งานร่วมกับชิ้นงานที่วาดด้วย CAD และการนำเข้าชิ้นงานที่สร้างเมชมาแล้ว
  • เทคนิคการสร้างเมช
  • การสร้างแบบจำลอง, การส่งผลลัพธ์ และการดูผลลัพธ์ในงานวิเคราะห์
  • การดูผลของแบบจำลอง
  • การเริ่มวิเคราะห์ใหม่อีกครั้ง

เนื้อหาในหลักสูตร

บทที่ 1                          บทนำและภาพรวมของซอฟต์แวร์ Abaqus

บทที่ 2                          เริ่มต้นการใช้งานซอฟต์แวร์ Abaqus/CAE

บทที่ 3                          การสร้างรูปทรงชิ้นงาน

บทที่ 4                          คุณสมบัติวัสดุและส่วนต่าง ๆ

บทที่ 5                          การประกอบใน Abaqus

บทที่ 6                          ขั้นตอน ผลลัพธ์ที่ต้องการให้แสดง แรงที่กระทำ และเงื่อนไขขอบเขต

บทที่ 7                          การสร้างเมชบนชิ้นงานรูปทรงทั่วไปและชิ้นงานที่นำเข้า

บทที่ 8                          การจัดการแบบจำลองและการดูผลลัพธ์

บทที่ 9                          ปัญหาแบบเชิงเส้นและแบบไม่เป็นเชิงเส้น

บทที่ 10                        ขั้นตอนการวิเคราะห์

บทที่ 11                        เทคนิคการวิเคราะห์แบบต่อเนื่อง

บทที่ 12                        ข้อจำกัดและจุดเชื่อมต่อ

บทที่ 13                        กำหนดพื้นที่สัมผัส

หลักสูตรนี้เหมาะสำหรับ

  • วิศวกรนักออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ
  • วิศวกรผู้ออกแบบในวิศวกรรมการผลิตที่เกี่ยวข้อง
  • อาจารย์ นักวิจัย ที่เกี่ยวข้องกับการการสอน CAE
  • นักศึกษาด้านวิศวกรรมและผู้สนใจ

รูปแบบการสอน

  • บรรยายประกอบการใช้ซอฟต์แวร์ CAE ชั้นนำ
  • หนึ่งคนต่อหนึ่งเครื่องคอมพิวเตอร์

ระยะเวลา
5 วัน, เวลา 09:00 – 16:00

วันที่อบรม

22, 23, 29 กุมภาพันธ์, 1-2 พฤษภาคม 2567

Only administrators can add new users.

CATIA training

Discover other courses that you may find interesting

General Purposed 
CAE

Discover other courses that you may find interesting

Specific CAE

Discover other courses that you may find interesting

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *